วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

Objectified



หนังเรื่องนี้เป็นหนังยาว(แอนคิดว่าน่าจะเป็นเชิงสารคดี)
หนังเรื่องนี้เป็นผลงานของ ฮุสต์วิต ซึ่งเป็นคนเดียวกับผู้สร้าง
หนังเรื่อง Helvetica หนังยาวทั้งสองเรื่องนี้เป็นหนังที่เกี่ยว
กับนักออกแบบ ในหนังเรื่อง Helvetica นั้น จะเป็นเรื่องที่
เกี่ยวกับนักออกแบบตัวอักษร แต่ในเรื่อง Objectified นั้น
จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับนักออกแบบผลิตภัณฑ์เสียส่วนใหญ่

นักออกแบบผลิตภัณฑ์ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงผู้ที่ออกแบบ
แค่รูปลักษณ์ภายนอกของผลิตภัณฑ์เท่านั้น แต่รวมไปถึงการ
ที่นักออกแบบคนนั้นมีความคิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์นั้นๆอย่างไร
ต้องการแก้อย่างไร ทำอย่างไรจึงจะสะดวกในการใช้สอยมาก
ที่สุด และทำอย่างไรจึงจะมีความสวยงามดึงดูดผู้คนให้สนใจ
เนื้อเรื่องในหนังเรื่องนี้มีการยกตัวอย่างที่ปอกเปลือกผลไม้
ดีไซน์เนอร์มีการคิดถึงวิธีการจับ ยางที่ใช้จับ จับอย่างไรจึง
จะสะดวกต่อการใช้สอยมากที่สุด มีการนำตัวอย่างงานมาเป็น
ร้อยอันเพื่อทดสอบว่าอันไหนจับแล้วสะดวกที่สุด แล้วก็นำไป
ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน สุดท้ายจึงออกแบบเพื่อความ
สวยงามและทดสอบว่าใช้ได้จริงหรือไม่

หนังเรื่องนี้มีการใช้เทคนิคการสัมภาษณ์นักออกแบบให้
พูดกับกล้อง สลับกับการถ่ายไปที่วัตถุต่างๆที่ตัวดีไซน์เนอร์
กำลังพูดถึง หรือสิ่งต่างๆที่มีความเกี่ยวข้องกับประเด็นที่
ดีไซน์เนอร์กำลังพูดอยู่

ในหนังเเรื่องนี้นั้นมีการถ่ายทำให้ดูอีกด้วยว่าดีไซน์เนอร์
มีวิธีคิดงานอย่างไร กระบวนการการทำงานของดีไซน์เนอร์
เป็นเช่นไร และมีการชวนให้คิดอีกว่าประสิธิภาพและความเรียบ
ง่าย คือแรงขับดันของดีไซน์เนอร์จริงๆหรือไม่


Objectifiedมีการสัมภาษณ์ถึงดีไซน์เนอร์หลายต่อ
หลายคน มีการถามถึงหลักการออกแบบของดีไซน์เนอร์
ผู้นั้น และยังมีการเชื่อมโยงไปถึงสิ่งที่ดีไซน์เนอร์คนนั้น
ชื่นชอบ หรือยกให้เป็น the best of design ยกตัวอย่าง
เช่น Apple หรือ Muji เป็นต้น

หนังเรื่องนี้มีการผู้เรื่องราวมากมาย เช่น เมื่อสัมภาษณ์
ดีไซน์เนอร์A ดีไซน์เนอร์Aได้พูดถึงการออกแบบเพื่อความ
เหมาะมือคือเรื่องสำคัญ ก็จะมีการเชื่อมต่อไปยังดีไซน์เนอร์
B ซึ่งมีทักษะและเป็นมืออาชีพทางด้านการออกแบบเหล่านั้น

และที่สำคัญ ในช่วงแรกของหนังเรื่องนี้มีการกล่าวถึงดีไซน์เนอร์หลายต่อหลายคน ชื่นชมกันมากมายในด้านการออกแบบ และแนวคิด แต่ช่วงหลังของหนังเรื่องนี้นั้นกลับกล่าวในทางตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิง

ในช่วงท้ายของหนังเรื่องนี้ ได้กล่าวถึงอาชีพดีไซน์เนอร์อย่างเราๆว่าเป็นผู้เพิ่มปริมาณขยะ ซึ่งก็เป็นข้อคิดให้แก่ผู้ที่ดูได้ แอนคิดว่าเป็นเรื่องที่ดีที่นำเสนออาชีพ1อาชีพในสองด้านไม่ใช่นำมาเสนอเพียงด้านดีด้านเดียว การทำแบบนี้แอนคิดว่าอาจทำให้เหล่าดีไซน์เนอร์ลองย้อนมองดูตัวเอง และถามตัวเองว่าสิ่งที่เรากำลังทำอยู่นั้นคือการเพิ่มปริมาณขยะให้แก่โลกหรือไม่ ถ้าใช่คุณคิดจะทำอย่างไรเพื่อลดปริมาณขยะ หรือคุณก็จะยังเป็นแบบเดิม ในขณะที่โลกของเรากำลังรณรงค์เกี่ยวกับเรื่องโลกร้อนอยู่ทุกวัน?

เทศกาลปล่อยแสง 100: ร้อยต้นคิด 100 ผลผลิตสร้างสรรค์


บทวิจารณ์โดย : ไพโรจน์ ธีระประภา


“คำว่า ‘ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น’ ไม่ได้จำกัดอยู่แค่แวดวงศิลปกรรม ฟากวิจิตรศิลป์เพียงฝ่ายเดียว เพราะงานประเภทกราฟิกดีไซน์ ก็สามารถสร้างสรรค์ให้สะท้อนปรัชญาข้างต้นได้ ขอให้ใช้ความคิดมากขึ้น รอบคอบขึ้น กราฟิกดีไซน์ ก็จะเป็นงานศิลปะที่ทรงคุณค่าได้เช่นกัน แม้เราตายไปแต่ผลงานเรายังอยู่ จะเป็นงานในรูปแบบใด คำตอบขึ้นอยู่กับตัวท่านแล้ว”


แอนคิดว่ามันเป็นเรื่องที่แปลกนะคะ ตอนที่แอนอ่านข้อความนี้แอนถามตัวเองว่า ข้อความกำลังสื่อสารกับใคร?และเมื่อมาลองนึกดีๆ คนที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อสารคงจะเป็นสองกลุ่ม 1 คือนักออกแบบกราฟิก และ 2 ในประโยคที่ว่า“คำตอบขึ้นอยู่กับตัวท่านแล้ว” แอนคิดว่าในที่นี้น่าจะสื่อสารถึงประชาชนทุกคน เพราะเนื่องจากถ้าหากเราออกแบบงานสักชิ้นหนึ่งแล้วถึงแม้ว่าเราจะยังไม่ตายไปก็ตามที ผู้ที่จะสื่อสารกับงานของเราก็จะเป็นผู้ที่มาดูงานของเรา ไม่ใช่ตัวเองอีกต่อไป แอนคิดว่าเราไม่สามารถยัดเยียดความรู้สึกในการมองภาพให้ผู้อื่นได้ถ้าหากเราได้นำผลงานของเราออกสู่สายตาประชาชนแล้ว เราทำได้เพียงออกแบบ และสื่อสารให้ตรงจุดที่เราต้องการจะสื่อสารมากที่สุด(ในที่นี้คือการใช้ความคิดที่มากขึ้น รอบคอบขึ้น)ก่อนจะนำผลงานออกเผยแผ่สู่สายตาประชาชน

ปฏิทิน Thinking Calendar
by : Propaganda



บนปฏิทินมีประโยคว่า the end of month not theend of work tomorrow is waiting for you แอนคิดว่าคงไม่ผิดที่แอนจะตลกกับประโยคนี้ เพราะแอนว่ามันเป็นประโยคที่ตรงใจคนทุกคนค่ะ ทำให้รู้สึกชอบไอเดียในการทำปฏิทินที่แหกกฎการกำหนดวันมากๆเลย






Concept : รักษ์โลก และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ความหมายเดิมฉลากเขียวเป็นเครื่องหมายที่สื่อถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันของมนุษย์ ( รูปหน้าเด็กกำลังยิ้ม ) สัตว์ ( รูปนก )สิ่งแวดล้อม ( รูปต้นไม้ ) และโลก การช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในวันนี้เท่ากับช่วยให้เราอยู่ด้วยกันในโลกอย่างมีความสุขตลอดไป


Concept ที่แอนเลือกใช้ก็จะคงเดิมค่ะ เพราะโจทย์ที่ได้รับมาคือให้ทำความเข้าใจกับความเป็นฉลากเขียวแบบเดิมก่อนแล้วจึงนำมา re-design ใหม่ การ re-design ที่แอนเข้าใจ คือ “การปรับ” ไม่ใช่ “การเปลี่ยน” เพราะฉะนั้นโลโก้ใหม่ที่ออกมาจะออกมาในลักษณะ ลดทอนจากของเดิมมากกว่าค่ะ

จากภาพ ฉลากเขียวที่แอนได้ออกแบบมาก็จะมี นก ใบไม้ และโลก ซึ่งในที่นี้แอนได้ตัดหน้าเด็กยิ้มออกไป เพราะแอนคิดว่าทั้งสัตว์ ทั้งธรรมชาติ และทั้งโลก ทุกอย่างแทบจะขึ้นอยู่กับมนุษย์(สิ่งที่มีในฉลากเขียว) และ ณ ขณะนี้ โลกของเรากำลังเน้นไปในเรื่องการอนุรักษณ์โลก ซึ่งแค่มีสีเขียว หรือรูปโลก ทุกคนจะสามารถรู้ได้ว่าเป็นสิ่งที่มนุษย์ควรตระหนักถึงค่ะ

แอนได้นำใบไม้มาผสมกับนก จะสังเกตได้ว่าตัวนกนั้นเหมือนมีสองสี ซึ่งแอนให้ความหมายว่าการเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสัตว์และธรรมชาติ และเมื่อเรารักษาได้ทั้งสัตว์และธรรมชาติให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ก็เหมืือนเราได้รักษาโลกของเราให้น่าอยู่มากขึ้นค่ะ และสุดท้าย ที่เลือกใช้ฟอนท์ที่ไม่ดูเป็นทางการจนเกินไปเพราะต้องการที่จะสื่อถึงความเป็นมิตรกับธรรมชาติของโลโก้ฉลากเขียวกับผู้ดูโลโก้ค่ะ

Home เปิดหน้าต่างโลก




กำกับ : ญานน์ อาร์ทูส์-แบร์ทรองด์

ตลอด 200,000 ปี บนโลก มนุษยชาติพลิกผันดุลยภาพของดาวดวงนี้ซึ่งกว่าจะเข้ารูปเข้ารอยก็ต้องอาศัยวิวัฒนาการ
เกือบ 4 พันล้านปี ทุกวันนี้คือเวลาแห่งการชดใช้อย่างสาสม และสายเกินกว่าจะคร่ำครวญ มนุษยชาติเหลือเวลาอีกไม่ถึง 10 ปี
เพื่อกลับตัวกลับใจเพื่อตระหนักถึงความอุดมสมบูรณ์ของโลกที่สูญสิ้นไปทุกหย่อมหญ้า และเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการ
ผลาญทรัพยากร



นอกจากจะได้เห็นฟุตเทจแปลกตาซึ่งรวบรวมมาจากเหนือพื้นดินของกว่า 50 ประเทศ รวมถึงได้ร่วม

ญานน์ อาร์ทูส์-แบร์ทรองด์ ยังหวังว่าหนังเรื่องนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นให้เราร่วมแรงร่วมใจกันฟื้นฟูบ้านหลังใหญ่ขึ้นมาอีกครั้ง

- 20% ของประชากรโลกถลุงทรัพยากรของดาวดวงนี้ไปถึง 80% จากรายงานฉบับที่ 4 ของโครงการ GEO ในแผนงานสหประชาชาติเพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อม (UNEP) ปี 2007
- ทั้งโลกใช้จ่ายด้านยุทโธปกรณ์มากกว่านำเงินไปช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาถึง 12 เท่า จากหนังสือประจำปี 2008 ของสถาบัน
Stolkholm International Peace Research Institute และ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ปี 2008
- 5 พันคนต่อวันเสียชีวิตเพราะน้ำดื่มที่ปนเปื้อน และ 1 พันล้านคนไม่มีน้ำสะอาดไว้ดื่ม จากแผนงานสหประชาชาติเพื่อการพัฒนา (UNDP) ปี 2006
- 1 พันล้านคนกำลังหิวโหย จากองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ปี 2008
- กว่า 50% ของเมล็ดธัญพืชที่ซื้อขายกันทั่วโลก ใช้เป็นอาหารสัตว์ และผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ จากสถาบัน Worldwatch Institute ปี 2007และ องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ปี 2008
- พื้นที่กสิกรรมเสื่อมสภาพไปถึง 40% จากแผนงานสหประชาชาติเพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อม (UNEP) / หน่วยงาน ISRIC World Soil Information
- ทุกๆ ปี พื้นที่ป่าสูญหายไป 13 ล้านเฮกตาร์ จากองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ปี 2005
- 1 ใน 4 ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม, 1 ใน 8 ของนก และ 1 ใน 3 ของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำใกล้จะสูญพันธุ์ สัตว์หลายๆ สปีชี่ตายเร็วกว่าอายุขัยตามธรรมชาติถึง 1 พันเท่า จาก สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) ปี 2008 และการประชุมพฤกษศาสตร์นานาชาติครั้งที่ 16 ในเซนต์หลุยส์ สหรัฐอเมริกา ปี 1999
- ผลิตผลทางการประมงลดน้อยลง สูญสิ้น หรือเสี่ยงต่อการสูญสิ้นถึง 75% ข้อมูลจากสหประชาชาติ
- ตั้งแต่เริ่มบันทึกสถิติ อุณหภูมิเฉลี่ยในช่วง 15 ปีที่ผ่านมานับว่าสูงที่สุด ข้อมูลจากสถาบัน NASA GISS
- แผ่นน้ำแข็งขั้วโลกบางลงถึง 40% ในระยะเวลา 40 ปี จากศูนย์ข้อมูลน้ำแข็งและหิมะแห่งชาติ (NSIDC) ปี 2004
- ก่อนถึงปี 2050 คาดว่าจะมีผู้ลี้ภัยจากสภาพอากาศอันเลวร้าย 200 ล้านคน จากบทวิเคราะห์ The Stern Review: the Economic of Climate Change ฉบับที่ 2 บทที่ 3 หน้า 77

Eco Design




Air-Tree เป็นอุปกรณ์ที่สามารถช่วยกำจัดอากาศ / ก๊าซเรือนกระจกได้ เป็นผลงานการออกแบบของ Seung Jun Jeong สิ่งนี้สามารถทำให้อากาศบริสุทธิ์ได้ แม้ว่าจะอยู่ในพื้นที่สาธารณะก็ตามที
ณ ขณะนี้มีการตัดไม้ทำลายป่าเพิ่มขึ้นทุกวัน จนปัจจุบันโลกของเราสะสมก๊าซพิษต่างๆไว้มากมายในทุกแห่งหน ไม่ว่าจะเป็น ก๊าซพิษจากการเผาไหม้ ก๊าซพิษจากโรงงาน ก๊าซพิษจากรถยนต์ หรือรวมไปถึงก๊าซเรือนกระจกต่างๆด้วย Jeong จึงได้ออกแบบเก้าอี้ตัวนี้มาเพื่อวางในพื้นที่สาธารณะ เพื่อมอบอากาศบริสุทธิ์ให้แก่ประชาชนทั่วไปทุกคน


ด้านในของ Air-tree มีพัดลมดูดอากาศสามารถดูดอากาศเสียรอบๆตัวเก้าอี้ เพื่อนำอากาศที่เสียเข้าไปผ่านตัวกรอง ระบบ HEPA และจะทำการปล่อยอากาศบริสุทธิ์ที่ผ่านการกรองแล้วออกมาด้านบนรอบๆตัวเก้าอี้

ด้านบนของเก้าอี้ Air-tree ยังมีระบบแสงไฟ LED เพื่อสามารถให้สามารถใช้ได้ในเวลากลางคืนได้อีกด้วย




Steve Haslip กล่าวว่า คอนเสปการทำงานของผมเป็นคอนเสปง่ายๆครับ มันเกิดจากการที่ผมไปสั่งเสื้อยืดออนไลน์ แต่พอเสื้อยืดส่งมาถึงมือผมเสื้อมันจะต้องยับยู่ยี่ทุกครั้ง แถมผมยังต้องวิ่งหาไม้แขวนเสื้ออันใหม่อีก
ดังนั้นผมจึงออกแบบทางเลือกใหม่ให้แก่ผู้ส่งสินค้าครับ เพราะเมื่อคุณส่งของไปให้กับลูกค้าของคุณแล้ว เสื้อผ้าของคุณก็จะไม่ยับ ลูกค้าของคุณก็ไม่ต้องไปหาไม้แขวนเสื้อใหม่ๆอีกแถมคุณยังไม่ต้องเสียเงินมากมายเลยด้วย เพราะในขณะที่คุณเปิดแพกเกจออกคุณก็สามารถสร้างไม้แขวนเสื้อเองได้



แพกเกจอาจนำมาจากวัสดุเหลือใช้ต่างๆหรือวัสดุรีไซเคิลก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นกระดาษแข็ง กระดาษการ์ด หรือพลาสติกเหลือใช้ต่างๆ และแพกเกจที่ผมได้ออกแบบสิ่งที่จะเป็นขยะจะมีเพียงอย่างเดียวคือ แถบสีเขียวที่คุณต้องดึงทิ้ง

วันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2554

Information Graphic Design [Noodle]


How To...


งานชิ้นนี้เป็นงานวิชา Information Graphic Designค่ะ ได้บทความเกี่ยวกับวิธีการต้มบะหมี่อย่างถูกวิธีมาค่ะ อาจารย์ได้ให้โจทย์มาว่า ให้นำบทความที่ได้ไปสร้าง Information ให้ง่ายต่อความเข้าใจและมีความน่าสนใจมากกว่าอ่านบทความธรรมดาค่ะ


แอนได้ทำวิธีการทำออกมาในลักษณะของหนังสือการ์ตูน แม้ว่าจะเป็นภาพขาวดำแต่แอนก็มีการนำคาแรคเตอร์(ตัวเอง)มาใช้ ท่าทาง(ที่ดูโอเวอร์นิดๆ) +การจัดวางเรื่องราวและคำพูดให้มีความน่าสนใจมากขึ้นค่ะ

ผลที่ออกมา แม้ว่าจะเป็นงานที่ดูเรียบง่าย ไม่ใช่งาน3D หรือสามารถเล่นกับชิ้นงานได้ แต่ตอนที่เห็นเพื่อนๆหยิบไปอ่านแล้วเพื่อนทำท่าทางสนุก หรือบางคนมาบอกว่าวาดสนุกดี อ่านแล้วไม่เบื่อ แอนคิดว่างานชิ้นนี้เป็นผลงานที่น่าพอใจแล้วค่ะ เพราะที่จริงแอนคิดว่างานชิ้นนี้เป็นสไตล์ของแอนค่อนข้างมากเลยด้วยค่ะ :D

Information Graphic Design [Freedom]


D DAY


โจทย์ที่ได้รับมาคือ Freedom ให้เรานำคำว่า Freedom ไปตีความต่างๆตามความเข้าใจของเราเองแล้วนำไปทำ Information Graphic Design ตัวอย่างเช่น วันเลิกทาส การประท้วงซึ่งสันติภาพ ผู้นำทางด้านเสรีภาพ เป็นต้น



เรื่องราวที่แอนเลือกมาคือวัน D Day หรือก็คือวันยกพลขึ้นบก ปลดปล่อยกรุงปารีส
แอนได้ลองตีความคำว่าอิสระให้มากที่สุด เพื่อหาสัญลักษณ์บางอย่างที่ง่ายต่อความเข้าใจและสามารถนำมาเล่าเรื่องราวให้งานมีความน่าสนใจมาขึ้น ซึ่งสิ่งที่แอนได้เลือกมาก็คือ นกพิราบ และ กรงขัง
- นกพิราบ ความหมายสากลของนกพิราบที่คนส่วนมากมักนิยมนำมาใช้คือความอิสระ ความบรรสุทธิ์(นกสีขาว)
- กรงขัง มีความหมายว่ากักขัง หน่วงเหนี่ยว ไร้ซึ่งอิสระ
แอนได้นำความหมายของสิ่งสองสิ่งซึ่งมีความขัดแย้งกันมารวมในงานชิ้นนี้ สร้างเรื่องราวให้กับชิ้นงาน และงานชิ้นนี้สามารถเล่นกับแสง-เงาได้ด้วยค่ะ

mood&tone : สีที่สื่อถึงความรุนแรง เรื่องราวของการปลดปล่อย

งานชิ้นนี้เป็นงานที่มีในหนังสือ The Packaging and Design TEMPLATES Sourcebook อยู่แล้วค่ะ เป็นการตัดกระดาษสองส่วนให้เป็นภาพเงาของนก แอนได้นำวิธีการตัดกระดาษสองส่วนให้เป็นรูปนกมาเป็นตัวอย่างในการทำงาน แล้วเพิ่มเติมเรื่องราวของการปลดปล่อยเข้าไปในมุมต่างๆให้มีความสอดคล้องกับข้อมูลที่ได้หามาค่ะ

และแน่นอนว่าที่ขาดไม่ได้ในงานนี้คือเรื่องของข้อมูลที่ต้องถูกต้อง เรื่องรองลงมาคือต้องทำให้ดูรู้เรื่อง มีความสวยงามน่าสนใจ และไม่น่าเบื่อค่ะ

ในงานนี้แอนได้ย่อเหตุการณ์ D Day ลงให้เหลือเพียง 8 เหตุการณ์สำคัญ แล้วนำมาเชื่อมความสำคัญกับSymbolรูปนกที่ถูกปลดปล่อยค่ะ อย่างเช่นวันที่เยอรมันยึดโปแลนด์ จะเป็นภาพนกถูกขังอย่างแน่นหนา, เยอรมันเป็นฝ่ายเสียเปรียบในสงคราม แอนตีความหมายว่าผู้ที่ถูกกักขังอยู่ในกรงกำลังมีความหวังเตรียมพร้อมที่จะออกสู่อิสรภาพ ก็ได้นำภาพนกเตรียมที่จะบินมาเชื่อความสัมพันธ์และเล่าเรื่องให้น่าสนใจเป็นต้นค่ะ