วันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2554

Information Graphic Design [Noodle]


How To...


งานชิ้นนี้เป็นงานวิชา Information Graphic Designค่ะ ได้บทความเกี่ยวกับวิธีการต้มบะหมี่อย่างถูกวิธีมาค่ะ อาจารย์ได้ให้โจทย์มาว่า ให้นำบทความที่ได้ไปสร้าง Information ให้ง่ายต่อความเข้าใจและมีความน่าสนใจมากกว่าอ่านบทความธรรมดาค่ะ


แอนได้ทำวิธีการทำออกมาในลักษณะของหนังสือการ์ตูน แม้ว่าจะเป็นภาพขาวดำแต่แอนก็มีการนำคาแรคเตอร์(ตัวเอง)มาใช้ ท่าทาง(ที่ดูโอเวอร์นิดๆ) +การจัดวางเรื่องราวและคำพูดให้มีความน่าสนใจมากขึ้นค่ะ

ผลที่ออกมา แม้ว่าจะเป็นงานที่ดูเรียบง่าย ไม่ใช่งาน3D หรือสามารถเล่นกับชิ้นงานได้ แต่ตอนที่เห็นเพื่อนๆหยิบไปอ่านแล้วเพื่อนทำท่าทางสนุก หรือบางคนมาบอกว่าวาดสนุกดี อ่านแล้วไม่เบื่อ แอนคิดว่างานชิ้นนี้เป็นผลงานที่น่าพอใจแล้วค่ะ เพราะที่จริงแอนคิดว่างานชิ้นนี้เป็นสไตล์ของแอนค่อนข้างมากเลยด้วยค่ะ :D

Information Graphic Design [Freedom]


D DAY


โจทย์ที่ได้รับมาคือ Freedom ให้เรานำคำว่า Freedom ไปตีความต่างๆตามความเข้าใจของเราเองแล้วนำไปทำ Information Graphic Design ตัวอย่างเช่น วันเลิกทาส การประท้วงซึ่งสันติภาพ ผู้นำทางด้านเสรีภาพ เป็นต้น



เรื่องราวที่แอนเลือกมาคือวัน D Day หรือก็คือวันยกพลขึ้นบก ปลดปล่อยกรุงปารีส
แอนได้ลองตีความคำว่าอิสระให้มากที่สุด เพื่อหาสัญลักษณ์บางอย่างที่ง่ายต่อความเข้าใจและสามารถนำมาเล่าเรื่องราวให้งานมีความน่าสนใจมาขึ้น ซึ่งสิ่งที่แอนได้เลือกมาก็คือ นกพิราบ และ กรงขัง
- นกพิราบ ความหมายสากลของนกพิราบที่คนส่วนมากมักนิยมนำมาใช้คือความอิสระ ความบรรสุทธิ์(นกสีขาว)
- กรงขัง มีความหมายว่ากักขัง หน่วงเหนี่ยว ไร้ซึ่งอิสระ
แอนได้นำความหมายของสิ่งสองสิ่งซึ่งมีความขัดแย้งกันมารวมในงานชิ้นนี้ สร้างเรื่องราวให้กับชิ้นงาน และงานชิ้นนี้สามารถเล่นกับแสง-เงาได้ด้วยค่ะ

mood&tone : สีที่สื่อถึงความรุนแรง เรื่องราวของการปลดปล่อย

งานชิ้นนี้เป็นงานที่มีในหนังสือ The Packaging and Design TEMPLATES Sourcebook อยู่แล้วค่ะ เป็นการตัดกระดาษสองส่วนให้เป็นภาพเงาของนก แอนได้นำวิธีการตัดกระดาษสองส่วนให้เป็นรูปนกมาเป็นตัวอย่างในการทำงาน แล้วเพิ่มเติมเรื่องราวของการปลดปล่อยเข้าไปในมุมต่างๆให้มีความสอดคล้องกับข้อมูลที่ได้หามาค่ะ

และแน่นอนว่าที่ขาดไม่ได้ในงานนี้คือเรื่องของข้อมูลที่ต้องถูกต้อง เรื่องรองลงมาคือต้องทำให้ดูรู้เรื่อง มีความสวยงามน่าสนใจ และไม่น่าเบื่อค่ะ

ในงานนี้แอนได้ย่อเหตุการณ์ D Day ลงให้เหลือเพียง 8 เหตุการณ์สำคัญ แล้วนำมาเชื่อมความสำคัญกับSymbolรูปนกที่ถูกปลดปล่อยค่ะ อย่างเช่นวันที่เยอรมันยึดโปแลนด์ จะเป็นภาพนกถูกขังอย่างแน่นหนา, เยอรมันเป็นฝ่ายเสียเปรียบในสงคราม แอนตีความหมายว่าผู้ที่ถูกกักขังอยู่ในกรงกำลังมีความหวังเตรียมพร้อมที่จะออกสู่อิสรภาพ ก็ได้นำภาพนกเตรียมที่จะบินมาเชื่อความสัมพันธ์และเล่าเรื่องให้น่าสนใจเป็นต้นค่ะ

Design Hero



เนื่องจาก สันติ ลอรัชวี หรือ อ.ติ๊ก เป็นอาจารย์ที่สอนแอนมาสองเทอมแล้ว แอนคิดว่าไม่แปลกนักที่ อ.ติ๊กจะเข้ามามีอิทธิพลในชีวิตนักออกแบบของแอน จากที่ได้เรียนและได้ไปดูผลงานของ อ.ติ๊ก มาหลายครั้งก็รู้สึกประทับใจในหลายๆเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของแนวคิด วิธีคิด วิธีการทำงาน วิธีการหาข้อมูล หรือแรงบันดาลใจ ฯลฯ สิ่งที่มีอิทธิพลในการทำงานของแอนมากที่สุดแอนคิดว่าน่าจะเป็นเรื่องของวิธีคิดงาน เพราะจากในสมัยแอนเริ่มเรียนแรกๆ แอนจะมองงานในมุมเดียวเท่านั้นไม่พยายามที่จะคิดและเอาตัวเข้าไปสนุกหรือเรียนรู้กับงานเท่าที่ควร แต่เมื่อได้เรียนและได้ดูงานของอาจารย์ติ๊ก ก็รู้สึกประทับใจในวิธีคิด วิธีมอง ดู และทำงานของ อ. มากค่ะ และในตอนนี้เวลาแอนคิดงานก็รู้สึกว่าค่อนข้างจะมองในหลายมุม มองให้กว้างขึ้น และเอาตัวเองเข้าไปสนุกกับงานให้มากที่สุดค่ะ


ภาพตัวอย่างงาน Papper Matter เป็นผลงานของ Practical Design Studio ที่แอนชอบมากค่ะ เพราะมีการเล่นกับมิติ มุมมอง การนำตัวเองเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับงาน และยังมีการฉายวีดีโอซึ่งแสดงภาพเป็นเงาตามผลงานของภาพอีกด้วย แอนคิดว่าการที่จะสร้างงานแบบนี้ได้ จะต้องผ่านกระบวนการคิดมามากแน่ๆ และยังมีการนำตัวเองเข้าไปมีส่วนร่วมในงานเพื่อนเพิ่มความสนุกให้กับงาน ตนเอง และผู้ที่มาดูอีกด้วย

Beginning of Editorial


Wednesday with Bear Wish

งานนี้เป็นงานของวิชา Editorial Design เป็นงานที่ต้องนำบทความมาตีความแล้วแตกออกเป็นคอนเสป ซึ่ง 1 บทความสามารถตีได้หลายคอนเสปมากค่ะ

บทความนี้เป็นบทความเกี่ยวกับ Creative คนหนึ่งกับเพื่อนของเขาซึ่งเป็นหมี ชื่อ Bear wish
- เนื้อหาสำคัญจะอยู่ในตอนท้ายของบทความซึ่งตัวเอก2ตัวได้คุยกันในสวนสัตว์ของเชียงใหม่ เพื่อนหมีของเขาได้เกริ่นออกมาลอยๆว่าเขาเคยเจอวัยรุ่น
- กลุ่มหนึ่งกำลังขว้างปาก้อนหิน กระป๋องน้ำอัดลมใส่หมีควายในสวนสัตว์ และแน่นอนเขาเข้าไปต่อว่าเด็กกลุ่มนั้น แต่ทว่าโดนเด็กกลุ่มนั้นสวนกลับมาว่า
จะสนใจทำไมสัตว์พวกนี้มันเจ็บไม่เป็นหรอก ใจความสำคัญอยู่ ณ ประโยคนี้เพื่อให้ผู้อ่านได้พิจารณาว่ายังหลงเหลือคนที่มีความคิดแบบนี้อยู่
- แล้วเขายังเล่าเรื่องราวเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทารุณกรรมสัตว์ตามประเทศต่างๆทั้งที่มีองกรณ์มากมายต่อการการล่าสัตว์หรือทำร้ายสัตว์ สุดท้ายเขาได้ทิ้งคำถามไว้ว่าควรจะมีสวนสัตว์หรือไม่?
- โดยเพื่อนของเขาให้ความเห็นว่ามีก็ดีเราจะได้ศึกษาชีวิตและธรรมชาติของสัตว์ป่า
- และแบร์วิชก็ยังไม่สามารถตอบได้ว่าตัวเขาคิดเช่นไรกับสวนสัตว์ สัตว์ป่าควรอยู่ในป่าไม่ใช่หรือ?

Concept กักขังและอิสระ
หากสังเกตดีๆจะเห็นได้ว่าด้านในของป่า คือกรงขัง ซึ่งอยากจะเปรียบเทียบกับสวนสัตว์ค่ะ

วัตถุประสงค์
- เพื่อให้ผู้ที่ชมผลงานได้ดู สัมผัส เล่น และคิดตามกับผลงานว่าสัตว์ป่าควรจะอยู่ในกรงหรือในป่า
- ต้องการให้ผู้คนได้คิดและตระหนักถึงความเป็นอยู่ ชีวิต และจิตใจของสัตว์ป่าที่ถูกกักขังและทารุณ

จากภาพ ต้องการจะสื่อให้คิดตามว่าหมีควรจะอยู่หรือควรจะไป? ฉากหลังควรจะเป็นกรงขังหรือป่าไม้?

แนวความคิด
- ใช้symbolของหมีเข้ามาเป็นสื่อ ที่เลือกหมีมาใช้เป็นเพราะว่าในบทความคนที่กล่าวถึงการทารุณกรรมสัตว์ก็คือหมีที่ชื่อแบร์วิช และในบทความยังมีการกล่าวถึงหมีแพนด้าที่สวนสัตว์เชียงใหม่อีกด้วย และsymbolหรือlogoรูปหมีมีการใช้สื่อความถึงความน่ารัก การรณรงค์(WWF) การเรียกร้องความสงสารมามากมายจนเป็นที่รู้จักกันของผู้คนแล้วจึงเลือกใช้symbolของหมีมาทำงานชิ้นนี้
- อยากจะใช้วิธีเจาะกระดาษเข้ามาแทนการปริ๊นสีทั้งแผ่น ต้องการจะใช้สีให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะอยากจะสื่อถึงความเป็นรรมชาติ
- ถ้าหากว่าการที่ไม่ใช้สีเขียวทำให้ผลงานดูไม่เหมือนว่าหมีได้รับอิสรภาพ จะตัด/เจาะกระดาษให้เป็นsymbolของต้นไม้หรือต้นไผ่เพื่อสื่อถึงธรรมชาติของหมี

Information Graphic Design


The Table of Comparison and Classification of Type of Cars


เป็นงานในชั้นเรียนวิชา information graphic design ของปี 3 เทอม 1 โจทย์ที่ได้รับมาคือเรื่องของรถ มีการให้รถมา 8 คัน ให้เราไปค้นหาข้อมูลเอง และเลือกเอาว่าเราต้องการจะบอกข้อมูลในเรื่องอะไร

ข้อมูลที่ได้เลือกมาคือ : ข้อมูลความเร็ว ราคา ประเภทของรถ(city car, 4 wheels drive ฯลฯ) และประเทศผู้ผลิตของรถยี่ห้อนั้น

concept : car การทำให้มองปุ๊บก็รู้ปั๊บว่ากำลังพูดเกี่ยวกับเรื่องของรถ

ใช้รูปร่างด้านข้างของรถนั้นๆมาทำการลดทอนให้มีความเป็นกราฟฟิกมากยิ่งขึ้นและทำการแบ่งแยกด้วยสีค่ะ มีการบอกข้อมูลเป็นแบบกราฟ และสัญลักษณ์

Mood & Tone : ใช้สีดำเป็นหลักเพราะจากการที่ค้นหาข้อมูลมีการวิเคราะห์ว่าผู้ที่ชื่นชอบขับรถเร็วโดยมากมักจะชอบสีดำ และสีดำยังสามารถทำให้งานดูหรูหราเหมาะกับการทำกราฟฟิกในเรื่องรถอีกด้วย